s
Header image
CHOMMATAT SOMBUT LAW OFFICE
โทร086-558-9695 / 02-236-5721 / 02-6300-334
ยินดีต้อนรับ สำนักกฎหมายชมทรรศน์ สมบุตร โทร. 086-558-9695 / 02-236-5721 / 02-6300-334 E-mail: toebkk@hotmail.com☻☻ สำนักงานฯ พร้อมให้บริการท่านตลอด 24 ชั่วโมง และยินดีแก้ปัญหาให้ท่านทันทีที่เกิดเหตุการณ์ โดยสามารถติดต่อได้ที่ คุณชมทรรศน์ โทร.086-5589695 ☻☻

 

 

 





 

 

เบอร์โทรศัพท์สถานีตำรวจ
ในกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัดอื่นๆ

เบอร์โทรศัพท์ศาลในกรุงเทพฯ
และปริมณฑล

เบอร์โทรศัพท์สรรพากรพื้นที่
กรุงเทพมหานคร

เบอร์โทรศัพท์สำนักงานเขต
ในกรุงเทพมหานคร

เบอร์โทรศัพท์สถานีดับเพลิง
ในกรุงเทพมหานคร

เบอร์โทรศัพท์โรงพยาบาล ในกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัดอื่นๆ

 


 

 


 

 


 

มาตรการควบคุมกำกับและการบังคับใช้กฎหมายด้านการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ (ตอนที่ 2)

 

เดือนเพ็ญ ภิญโญนิธิเกษม

 

2. ลักษณะการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เป็นปัญหา

2.1 การโฆษณาแฝง
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพเกือบทุกชนิดมักจะเป็นการโฆษณาในลักษณะแฝงด้วยการ
ออกข่าวประชาสัมพันธ์ การแถลงข่าวสินค้าตัวใหม่ ข่าวสังคมธุรกิจ การทำเป็นบทความวิชาการโดยสอดแทรกสรรพคุณคุณประโยชน์และคุณภาพของสินค้า เพื่อประโยชน์ของผู้ประกอบการ การแอบแฝงโฆษณาทางสถานีวิทยุด้วยการพูดสด รับปรึกษาปัญหาในรายการแล้วพูดถึงผลจากการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นผู้อุปถัมภ์รายการ เล่นเกมชิงรางวัล นำชื่อสินค้าไปแทรกในการเล่นเกมภาพ โลโก้สินค้าบนแผ่นป้ายในรายการเกมส์โชว์ หรือรูปกราฟฟิกประกอบเทปโทรทัศน์ที่ระบุสนับสนุนรายการช่วงต่างๆ ซึ่งการกระทำดังกล่าวอาจเข้าข่ายเป็นการโฆษณาที่ไม่ขออนุญาตและข้อความโฆษณาแฝงเหล่านั้นอาจเป็นเท็จหรือหลอกลวง เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายการโฆษณาได้
การโฆษณาแฝงมีจำนวนมากที่อาศัยรูปแบบของบทความทางวิชาการ ให้ความรู้และสอด
แทรกเนื้อหาเกี่ยวกับคุณประโยชน์ของสาระสำคัญที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์นั้น โดยมีผู้ประกอบวิชาชีพ แพทย์ เภสัชกร หรือนักวิทยาศาสตร์ในสาขาที่เกี่ยวข้องเป็นผู้เขียนบทความในทำนองให้ความรู้ แต่ที่ติดกับบทความมีการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพโดยอาศัยประโยชน์ของเนื้อหาในบทความนั้น เช่น บทความรู้ที่กล่าวถึงคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์อาหาร “รังนกใช้เป็นยาบำรุงสุขภาพสำหรับเด็ก สตรี และคนชรา สำหรับสตรีรับประทานรังนกเพื่อช่วยบำรุงผิวพรรณให้มีความเนียนนุ่มดูอ่อนเยาว์ ในผู้ป่วยโรคปอด และทางเดินหายใจ ใช้รังนกในการช่วยบรรเทาและรักษาอาการต่างๆ ของโรค” ในท้ายบทความมีชื่อและภาพของผลิตภัณฑ์และสโลแกน
การจัดรายการเพลง เกมโชว์ สารคดี บางครั้งผู้จัดรายการอาจใช้วิธีการประกาศโฆษณาใน
ขณะดำเนินการโดยเฉพาะในรายการวิทยุและโทรทัศน์หลายรายการที่โฆษณาสินค้าในลักษณะประชาสัมพันธ์ หรือการให้ความรู้ความเข้าใจที่แฝงด้วยการโฆษณาชวนเชื่อ ซึ่งถือว่าเป็นการ Promote สินค้านั้นเอง เช่น รายการเพลงก่อนและหลังเปิดเพลงมักพูดถึงสาระความรู้ต่างๆ ประกอบกับพูดถึงสินค้าของผู้อุปถัมภ์รายการของตนอยู่เสมอ

 

 

2.2 การโฆษณาส่งเสริมการขายโดยระบบขายตรง
การโฆษณาสินค้าโดยใช้วิธีขายตรง เป็นช่องทางที่มีอิทธิผลต่อการตัดสินใจของผู้้บริโภค
ค่อนข้างสูงเนื่องจากใช้วิธีการโฆษณาเพื่อจำหน่ายสินค้าและบริการที่มีลักษณะถึงตัวผู้บริโภค ซึ่งการขายโดยระบบขายตรงนี้มักใช้วิธีการขายควบคู่กับการโฆษณาด้วยการพบปะลูกค้าเพื่อแนะสาธิตสินค้า การโฆษณาผ่านสื่อให้ผู้บริโภคที่สนใจสั่งซื้อสินค้าโดยตรง โดยจดหมายสั่งซื้อหรือสั่งซื้ัอได้ทางโทรศัพท์ เช่น การโฆษณาขายสินค้าผ่านบริการบัตรเครดิต การส่งใบโฆษณามาทางไปรษณีย์ (Shopping Mail) การลงโฆษณาขายสินค้าทางนิตยสาร หนังสือพิมพ์ การโฆษณาขายสินค้าทางวิทยุโทรทัศน์ (Shopping on air) เช่น TV Direct รวมถึงการโฆษณาขายสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ต (Shopping online) ผู้บริโภคมักจะได้รับข้อมูลที่โอ้อวดเกินความจริงหรือเป็นเท็จ จะได้รับข้อมูลแต่เฉพาะข้อดีของสินค้าโดยไม่มีโอกาสพิจารณาข้อมูลอื่นๆ แม้แต่ฉลากหรือลักษณะของผลิตภัณฑ์ ผู้บริโภคส่วนใหญ่ตัดสินใจซื้อจากข้อมูลโฆษณาของผู้ขาย นอกจากนี้มีการโฆษณาชักจูงเพื่อรับสมาชิกประกอบธุรกิจขายตรงด้วยวิธีการต่างๆ โดยการให้ผลประโยชน์ตอบแทนค่อนข้างสูงแก่สมาชิก มีลักษณะคล้ายแชร์ลูกโซ่ ถึงแม้ว่าจะมีการควบคุมให้มีการจดทะเบียนการประกอบธุรกิจขายตรงตามพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ.2545 ให้มีแผนการจ่ายผลตอบแทนตามที่กำหนดก็ตาม แต่ก็ยังมีการประกอบธุรกิจขายตรงเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ

 

ในการขายตรงผลิตภัณฑ์สุขภาพมักจะโฆษณาขายผลิตภัณฑ์หลายชนิดไปพร้อมกัน เช่น
เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพมีทั้งยา อาหาร เครื่องมือแพทย์และเครื่องสำอางค์ซึ่งการโฆษณาแต่ละผลิตภัณฑ์มีข้อกฎหมายควบคุมกำกับแต่ละผลิตภัณฑ์และเมื่อพิเคราะห์ดูบทบัญญัติของพระราชบัญญัติที่ควบคุมผลิตภัณฑ์สุขภาพนิยามคำว่า "ขาย" ไม่มีลักษณะการขายตามความหมายของการขายตรงแต่ประการใด และบางผลิตภัณฑ์ไม่อาจกระทำการขายตรงได้โดยเฉพาะการประกอบธุรกิจการขายตรงทางด้านยา กล่าวคือ ระบบการขายตรงตามพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ.2542 กำหนดคำนิยามไว้ว่า

 

"ขายตรง"หมายถึง การทำตลาดสินค้าหรือบริการในลักษณะของการนำเสนอขายต่อผู้
บริโภคโดยตรง ณ ที่อยู่อาศัยหรือสถานที่ทำงานของผู้บริโภค หรือของผู้อื่น หรือสถานที่อื่นที่มิใช่สถานที่ประกอบการค้าเป็นปกติธุระ โดยผ่านตัวแทนขายตรงหรือผู้จำหน่ายอิสระชั้นเดียวหรือหลายชั้น แต่ไม่รวมถึงนิติกรรมตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

 

"ตลาดแบบตรง" หมายถึง การทำตลาดสินค้าหรือบริการในลักษณะของการสื่อสารข้อมูล
เพื่อเสนอขายสินค้าหรือบริการโดยตรงต่อผู้บริโภคซึ่งอยู่ห่างโดยระยะทางและมุ่งหวังให้ผู้บริโภคแต่ละรายตอบกลับเพื่อซื้ัอสินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงนั้น

 

ทั้งนี้การประกอบธุรกิจการขายยาโดยหลักแล้ว การขายยายกเว้นแต่ยาสามัญประจำบ้าน
แล้ว การขายยาจะต้องขออนุญาตและได้รับใบอนุญาตขายยา และต้องมีผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการอยู่ควบคุม เช่น เภสัชกร แพทย์ หรือผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยอยู่ควบคุมประจำสถานที่ขายยา และการขายห้ามขายนอกสถานที่ที่ได้รับอนุญาต จึงเป็นเงื่อนไขหรือคุณลักษณะสำคัญที่ไม่อาจประกอบธุรกิจขายยาโดยระบบขายตรงได้เลย หากกระทำจะเข้าข่าสยเป็นการขายยาโดยไม่ได้รับอนุญาต และเป็นการโฆษณาขายยาโดยไม่ได้รับอนุญาตด้วย และยิ่งไปกว่านั้นหากโฆษณาด้วยข้อความสรรพคุณโอ้อวดเกินกว่าความเป็นจริง เช่น สามารถรักษาโรคมะเร็ง อัมพฤกษ์อัมพาตได้เด็ดขาด จะเข้าข่ายเป็นการโฆษณาเป็นเท็จหรือหลอกลวงอีกด้วย ซึ่งในปัจจุบันมีการขายยาโดยระบบการขายตรงจึงไม่ถูกต้อง จำเป็นต้องเร่งแก้ไขมิให้มีการจดทะเบียนประกอบธุรกิจขายตรงทางด้านยา มิฉะนั้นจะก่อให้เกิดปัญหาการฝ่าฝืนกฎหมาย

 

.

2.3 การโฆษณาในระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศและนโยบายของรัฐในการส่งเสริมการพัฒนา
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) ประกอบกับกระแสการค้าโลก นโยบายและการขยายตัวของผู้ใช้อินเทอร์เน็ทส่งผลให้มีการโฆษณาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็จเป็นจำนวนมาก และเป็นการโฆษณาโดยตรงไปยังกลุ่มผู้บริโภค หรือกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก นับเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าเพราะค่าใช้จ่ายในการลงโฆษณาถูกกว่าสื่ออื่นๆ โดยรูปแบบของการโฆษณาบนสื่ออิเล็กทรอนิกส์สามารถแสดงได้ทั้งข้อความ ภาพ เสียง และการเคลื่อนไหว

 

การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพในระบบพาิณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่สำนักงานคณะกรรมการ
อาหารและยาได้ออกข่าวประกาศเตือนผู้บริโภคเกี่ยวกับการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพทางอินเทอร์เน็ท เช่น

 

 "ภัยจากการซื้อผลิตภัณฑ์ยาผ่านสื่ออินเทอร์เน็ท"

อย. เตือนผู้บริโภค อย่าสั่งซื้อยาปลุกเซ็กส์และยานอนหลับทางอินเทอร์เน็ท โดยหลงเชื่อ
ข้อความโฆษณา เพราะอาจได้รับยาปลอมหรือยาที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย

 

อันตราย! ยาสลบ ยานอนหลับ ไม่ควรสั่งซื้อทางอินเทอร์เน็ท

อย. เตือนการนำยาสลบและยานอนหลับชนิดต่างๆ มาประกาศขายทางอินเตอร์เน็ต
เว็บไซด์ต่างๆ นั้นเป็นเรื่องผิดกฎหมายที่สำคัญเป็นภัยต่อผู้บริโภคและสังคมอย่างยิ่ง เพราะยาดังกล่าวมีผลข้างเคียงและอันตรายต่อร่างกายสูง การสั่งจ่ายหรือใช้ยาชนิดนี้ต้องเป็นบุคลากรทางการแพทย์เท่านั้น อีกทั้งห้ามโฆษณาโอ้อวดสรรพคุณด้วย

 

เมื่อถ้าพิเคราะห์ถึงบทบัญญัติกฎหมายแล้ว การโฆษณาควบคู่กับการขายยาอันตรายหรือยา
ควบคุมพิเศษหรือวัตถุออกฤทธิ์ เช่น ยาลดความอ้วน ยากล่อมประสาท ไม่สามารถทำได้ทางอินเทอร์เน็ท ถือว่าเป็นการขายยาที่ฝ่าฝืนกฎหมาย เนื่องจากเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติยาและวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทต้องการควบคุมการผลิตภัณฑ์ทั้งสองเป็นกรณีพิเศษ แม้ว่าผู้ขายยาทางอินเทอร์เน็ทจะมีใบอนุญาตขายก็ตามเพราะไม่ีมีเภสัชกรควบคุมการส่งมอบ ไม่ได้รับคำแนะนำจากผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์หรือเภสัชกร อีกทั้งยั้งเป็นการขายนอกสถานที่และฝ่าฝืนการโฆษณาอีกด้วย ส่วนการโฆษณาผลิตภัณฑ์และเครื่องสำอางค์ แม้ไม่ต้องห้ามเรื่องของใบอนุญาตขายก็ตาม แต่ข้อมูลโฆษณาที่เป็นเท็จ หลอกลวง หรือเิกินความจริง กระทำไม่ได้ เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย

 

 

2.4 การโฆษณาเปรียบเทียบ

 

เป็นการโฆษณาโดยใช้วิธีเปรียบเทียบสินค้าหรือบริการของผู้ทำการโฆษณาว่าแตกต่างหรือ
มีคุณภาพดีกว่าสินค้าหรือ บริการของผู้อื่น (คู่แข่งทางการค้า) โดยอาจใช้วิธีการเปรียบเทียบโดยทางอ้อมคือ การเปรียบเทียบที่บ่งเป็นนัยถึงสัญลักษณ์ของสินค้าหรือบริการอื่น หรือาจใช้่วิธีการเปรียบเทียบโดยตรงคือ การโฆษณาเปรียบเทียบโดยระบุหรือแสดงชื่อตรา เครื่องหมายของสินค้าหรือบริการของคู่แข่งทางการค้าให้เห็นโดยชัดเจน

 

การโฆษณาเปรียบเทียบหากได้กระทำโดยสุจริต นำเสนอข้อเท็จจริงที่สามารถพิสูจน์ยืนยัน
ได้ว่าเป็นความจริงและไม่ได้กล่าวเกินเลยหรือหลอกลวงเป็นเท็จ หรือก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญของสินค้า การโฆษณาเปรียบเทียบนั้นก็ย่อมกระทำได้ แต่ถ้าการโฆษณาเปรียบเทียบนั้นเป็นเท็จ หลอกลวง บิดเบือนความจริง ก่อให้เกิดความสับสนหลงผิดแก่ผู้บริโภคนำไปสู่การบริโภคที่ผิดประเภทและผิดวิธีจนก่อให้เกิดผลร้ายต่อผู้บริโภคในที่สุด การโฆษณาเปรียบเทียบลักษณะนี้ย่อมกระทำมิได้ และอาจต้องรับผิดตามกฎหมายเฉพาะของแต่ละผลิตภัณฑ์ที่กำหนด รวมทั้งต้องรับผิดตามกฎหมายแพ่งลัีกษณะละเมิดและอาจถูกฟ้องหมิ่นประมาทในทางอาญาด้วยหากมีเจตนาก่อให้เกิดความเสียหายแก่คู่แข่งทางการค้า

 

 

 


 


 

มีเรื่องด่วนหลังเวลาทำการของ
สำนักงาน (08.30-17.30 น.)
กรุณาติดต่อโดยตรงที่คุณชมทรรศน์
โทร.086-5589695

 



 

 

 
             
   
Copyright 2009 © สำนักกฎหมายชมทรรศน์ สมบุตร
ที่อยู่  919/541 อาคารจิวเวลรี่ เทรด เซ็นเตอร์ ชั้น 49 ถนนสีลม  แขวงสีลม เขตบางรัก กทม. 10500
โทร.   086-558-9695 / 02-236-5721 / 02-6300-334 Fax. 0-2236-5721
Fax. 0-2291-8717 E-mail:toebkk@hotmail.com



ทนายความชมทรรศน์ สมบุตร ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีแพ่ง คดีอาญา ทนายที่ปรึกษาประจำ ที่ปรึกษากฎหมาย ทนายความ ทนายฟรี เครื่องหมายการค้า ทนายความฟรี จดทะเบียนพาณิชย์ คดีแพ่ง ทนาย จดทะเบียนการค้า ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร ขอคืนภาษี โดนเรียกภาษีย้อนหลัง ขอภาษีคืน ขอลดค่าปรับภาษี อุทธรณ์ภาษี ปรึกษาปัญหาภาษีอากร จดทะเบียนอาหารและยา (อย.) รับขอ อย. อาหาร รับขอ อย. เครื่องสำอาง ที่ปรึกษากฎหมายอาหารและยา จดทะเบียนบริษัท จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน แก้ไข เปลี่ยนแปลง ย้ายที่อยู่บริษัท เพิ่มทุน ลดทุน กฎหมายที่ดิน เวนคืน จัดการมรดก ขับไล่ เร่งรัดหนี้สิน ทวงหนี้ สืบทรัพย์ บังคับคดี ร่างสัญญา รับร่างพินัยกรรมและจัดการเก็บรักษาพินัยกรรม ขออนุญาตโฆษณาอาหาร เครื่องสำอาง กฎหมายเครื่องมือแพทย์ รับขอ อย. วัตถุอันตราย ฉลากสินค้า สำนักทนายความ สำนักงานกฎหมาย สำนักงานทนายความ ขออนุญาตจับรางวัล ขออนุญาตจับรางวัลชิงโชค จับรางวัลเสี่ยงโชค ขออนุญาตจับรางวัลเสี่ยงโชค ขออนุญาตจัดให้มีการแถมพกหรือรางวัลเสี่ยงโชค ขอใบอนุญาตจัดรางวัลเสี่ยงโชค เครื่องหมายบริการ จดทะเบียนร้านค้าเพื่อเปิดร้านอินเตอร์เน็ต ขึ้นทะเบียนอาหารเสริม ขึ้นทะเบียนยาแผนปัจจุบัน ขึ้นทะเบียนยาแผนโบราณ นำเข้าเครื่องมือแพทย์ รับจด อย.