s
Header image
CHOMMATAT SOMBUT LAW OFFICE
ยินดีต้อนรับ สำนักกฎหมายชมทรรศน์ สมบุตร โทร.  02-116-1310 / 02-161-0155 / 086-558-9695 E-mail: toebkk@hotmail.com☻☻ สำนักงานฯ พร้อมให้บริการท่านตลอด 24 ชั่วโมง และยินดีแก้ปัญหาให้ท่านทันทีที่เกิดเหตุการณ์ โดยสามารถติดต่อได้ที่ี่ คุณชมทรรศน์ โทร.086-5589695 ☻☻

 

 

 





 

 

 

 

เบอร์โทรศัพท์สถานีตำรวจ
ในกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัดอื่นๆ

เบอร์โทรศัพท์ศาลในกรุงเทพฯ
และปริมณฑล

เบอร์โทรศัพท์สำนักงานเขต
ในกรุงเทพมหานคร

เบอร์โทรศัพท์สถานีดับเพลิง
ในกรุงเทพมหานคร

เบอร์โทรศัพท์โรงพยาบาล ในกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัดอื่นๆ

 

 

 


 

 


 

สาเหตุแห่งหนี้ มีได้หลายประการ เช่น การสมัครใจยอมตนเข้าผูกพันกัน มีข้อตกลงกันโดยการท
สัญญา หรือทำการใด ๆ ก็ตามที่กฎหมายให้มีข้อผูกพัน ภาษาในทางกฎหมายก็คือ การทำนิติกรรมนั่นเอง หรือในกรณีที่หนี้นั้นไม่ได้มีสาเหตุมาจากการสมัครใจผูกพันกัน แต่มีผลผูกพันกันในทางกฎหมาย เช่น ละเมิด กระทำโดยจงใจ ประมาทเลินเล่อ ทำให้คู่กรณีเกิดความเสียหายใด ๆ ต่อสิทธิตามกฎหมาย ก็ย่อมเกิดเป็นหนี้ได้เช่นกัน

 

ในปัจจุบันนี้ ถ้าจะกล่าวถึง หนี้ที่สามารถพบเห็นทั่วไป ส่วนใหญ่จะเป็นหนี้จากบัตรเครดิต ไม่ว่าจะ
เกิดจากการใช้บัตรเครดิตโดยขาดการยับยั้งชั่งใจ การขาดวินัยเมื่อหมุนเงินไม่ทัน ปัญหาที่ตามมาก็คือ เป็นหนี้ค้างชำระ ซึ่งผู้มีปัญหาตรงนี้ทุกคนแทบจะเจอเหมือนกันคือ การทวงถาม

 

การทวงถาม ส่วนมากจะพบเจอประสบการณ์ที่ไม่ดีจากเจ้าหน้าที่ทวงถาม เช่น การเริ่มด้วยการ
เจรจา ทวงถาม ในสถานที่ที่ไม่เหมาะสม รวมไปถึงการข่มขู่สารพัด ตั้งแต่การเสียประวัติทางการเงินของผู้ถูกทวงถาม การเสียดอกเบี้ยผิดนัด ต้องถูกฟ้องร้องดำเนินคดี ต้องถูกยึดทรัพย์ เป็นต้น ซึ่งต้องเข้าใจว่า กรณีฝ่ายเอกชนที่รับจ้างทวงหนี้โดยเฉพาะนี้ หากทวงได้ ก็จะได้เปอร์เซ็นต์จากเงินที่ทวงถามได้ เมื่อได้รับชำระมาก ก็จะได้ค่าตอบแทนมากตามไปด้วย

 

วิธีการรับมือกับกรณีดังกล่าว ต้องเข้าใจก่อนว่า การเป็นหนี้นั้น เป็นเรื่องทางแพ่ง ซึ่งเป็นเรื่อง
ระหว่างเอกชนกับเอกชน ที่มีทั้งสิทธิและหน้าที่ความรับผิดชอบ ไปดำเนินการผูกนิติสัมพันธ์กันเอง หากมีการฟ้องร้องบังคับกันในทางศาลก็ต้องฟ้องเป็นคดีแพ่ง เมื่อมีผลเป็นคำพิพากษาตัดสินคดีแล้ว ฝ่ายชนะคดีก็ต้องดำเนินการตามคำพิพากษา คือบังคับได้แต่ทรัพย์สินของลูกหนี้ หากลูกหนี้ไม่มีก็ต้องรอจนกว่าลูกหนี้จะหามาได้ (เวลาในการบังคับคดีคือ 10 ปี นับแต่ศาลตัดสิน) เรื่องทางแพ่งจึงเป็นการบังคับเอากับทรัพย์สินของลูกหนี้เท่านั้น จะไปบังคับเอากับเนื้อตัวร่างกายของลูกหนี้ไม่ได้ ส่วนการบังคับคดี คือการยึดทรัพย์ของลูกหนี้มาขายทอดตลาด เพื่อนำเงินมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาจนครบ หรืออาจจะมีการอายัดสิทธิต่าง ๆ ของลูกหนี้

 

กระบวนการต่าง ๆ นั้นย่อมเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย คือ เมื่อมีการฟ้องร้องก็ต้องผ่านขั้น
ตอน มีระยะเวลา ยืดออกไปอีกพอสมควร จึงยังพอมีเวลาที่จะหาทางแก้ไขปัญหาได้ หรืออาจมีเงินมาชำระหนี้ในภายหน้าได้ โดยมีข้อดีคือ ภาระดอกเบี้ยที่อยู่ในกรอบของศาลนี้มีความเป็นธรรมมากกว่า ระบบการจัดการของธนาคารเจ้าของบัตรหรือเจ้าหนี้อาจจะทำให้ลูกหนี้ต้องตกอยู่ในภาวะจำยอมอย่างอื่นเพิ่มขึ้นก็เป็นได้

 

ดังนั้น เมื่อมีการทวงถามจากเจ้าหนี้ ก็ไม่จำเป็นต้องหลบหลีก ให้ตอบตามความเป็นจริง ไม่ควรใช้
คำตอบแบบเลี่ยงไปเลี่ยงมา ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาได้เพียงครั้งคราวเท่านั้น

 

วิธีการหนึ่งที่ธนาคารเจ้าของบัตรมักจะนำมาใช้เป็นข้อเสนอที่น่าสนใจให้กับลูกหนี้ก็คือ การเปลี่ยน
แปลงยอดหนี้ วิธีการผ่อนชำระหรือการปรับปรุงรายการหนี้ใหม่ นั่นคือ ให้ลูกหนี้ “รับสภาพหนี้” นั่นเอง แต่จะหลีกเลี่ยงการใช้คำนี้ โดยทางธนาคารจะเสนอแต่เงื่อนไขดี ๆ ส่วนผลที่ตามมาจะไม่กล่าวถึง โดยการปิดบังข้อมูล ทำให้ลูกหนี้เกิดความสนใจรับข้อเสนอ ซึ่งมีวิธีการเช่น

 

- ชื่อของรายการที่นำเสนอ อาจเป็นในชื่อของสินเชื่ออื่น ๆ
- ข้อเสนอเกี่ยวกับการยืดหยุ่นในการผ่อนชำระให้ลูกหนี้สนใจ ซึ่งจะไม่เข้มงวดเหมือนบัตรเครดิต
- เมื่อลูกหนี้รับข้อเสนอ ก็จะไม่ถูกทวงถามอีก
- ระยะแรก อาจให้เว้นดอกเบี้ยในระยะเริ่มต้น หรืออัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าหนี้บัตรเครดิต
- การทำสัญญาหรือข้อตกลงใหม่ของสินเชื่อนี้ สามารถทำได้ง่าย สะดวก เพียงลงนามในเอกสาร
พร้อมสำเนาหลักฐานประจำตัวส่งโทรสารไปยังฝ่ายสินเชื่อ การชำระเงินคือก็เพียงผ่านช่องทางธนาคารจุดชำระค่าบริการต่าง ๆ เหมือนบัตรเครดิต นอกจากนี้เราไม่สามารถทราบข้อมูลที่ชัดเจนได้มากนัก ไม่มีเอกสารให้พิจารณาให้รอบคอบ รวมถึงการคิดว่ารับข้อเสนอแบบใหม่แล้วจะได้ตัดความรำคาญจากการทวงถามในหนี้บัตรเครดิต ซึ่งข้อเสนอนี้ธนาคารย่อมได้ประโยชน์มากกว่าการให้ลูกหนี้คงสถานะเป็นลูกหนี้ในบัตรเครดิต

 

เงื่อนไขต่าง ๆ ในสินเชื่อใหม่กับบัตรเครดิตนั้นแตกต่างกันคือ
1. ดอกเบี้ย บัตรเครดิตนั้น กฎหมายให้เรียกได้ไม่เกิน 18% ต่อปี แต่สินเชื่อใหม่นี้ไม่เกี่ยวกับ
เรื่องบัตรเครดิต จึงอาจเกิน 18% ต่อปีได้ ทั้งกฎหมายยังให้ธนาคารเรียกดอกเบี้ยได้เกินกว่าเอกชนให้กู้ทั่วไปซึ่งไม่เกิน 15% ต่อปี (หากผิดนัด อัตราดอกเบี้ยจะสูงขึ้นไปอีก)
2. ค่าทวงถาม ในบัตรเครดิต กฎหมายกำหนดให้ธนาคารมีสิทธิเรียกได้เดือนละไม่เกิน 250 บาท
แต่กรณีสินเชื่อใหม่อาจมีลักษณะกำหนดได้ตามใจธนาคารเจ้าหนี้ หรืออาจเรียกมาในแบบเบี้ยปรับ ซึ่งมีจำนวนสูงมาก การขอลดเบี้ยปรับย่อมทำได้ยาก ต้องให้ศาลลดให้เท่านั้น
  • อายุความฟ้องร้อง บัตรเครดิตอายุความสั้นกว่าคือ 2 ปี นับแต่ธนาคารได้มีการใช้เงินทดรองแทนผู้
  • ถือบัตร แต่ตามสินเชื่อใหม่ อาจเป็นกรณีมีอายุความทั่วไปคือ 10 ปี นับแต่ผิดนัดชำระหนี้
  • ในกรณีบัตรเครดิต ธนาคารอาจเจอปัญหาเอกสารหลักฐานไม่สมบูรณ์ เช่น ลงลายมือชื่อไม่ครบ
  • หนี้ขาดอายุความแล้ว หรือยอดหนี้ผิดพลาด ธนาคารจึงพยายามให้ลูกหนี้รับข้อเสนอเปลี่ยนสินเชื่อแบบใหม่ ดังนั้นต้องดูว่าเราอยู่ในฐานะได้เปรียบเจ้าหนี้หรือไม่ ก่อนจะรับข้อเสนอสินเชื่อใหม่นี้ต้องดูเงื่อนไขและข้อตกลงที่ได้ผลประโยชน์มากที่สุด ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่าเราเป็นคนก่อหนี้ จึงต้องรับผิดชอบ เพียงแต่ไม่ให้เจ้าหนี้เอาเปรียบมากเกินไปแค่นั้น

    ความเป็นไปได้ของการถูกฟ้อง

    ธนาคารอาจพิจารณาจากปัจจัยดังนี้ คือ
    1.นิสัยใจคอของลูกหนี้ หากคิดว่าลูกหนี้จะไม่ยอมชำระง่าย ๆ ก็ตัดสินใจฟ้อง
    2. ลูกหนี้จะมีทรัพย์สินพอให้ยึดหรือไม่เมื่อชนะคดี
    3. ถ้ามีผู้ค้ำประกันเข้ามาเกี่ยวข้องก็อาจฟ้องบังคับกับผู้ค้ำประกันได้
    4. เอกสารหลักฐานต่าง ๆ มีความสมบูรณ์หรือไม่
    5. หากคดีจะขาดอายุความ ก็อาจมีการฟ้องร้องไว้ก่อน
    6. นโยบายของธนาคารเอง

    เมื่อโดนฟ้องร้อง

    การฟ้องร้อง จะเริ่มต้นด้วยการที่เจ้าหนี้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องต่อศาล จากนั้นจะมีการส่งหมายเรียกและ
    สำเนาคำฟ้องไปยังภูมิลำเนาของลูกหนี้ ซึ่งตามคำฟ้องจะเรียกลูกหนี้ว่าจำเลย เพื่อที่ทางลูกหนี้จะได้ทำคำให้การแก้คดี ซึ่งต้องดูว่าได้รับหมายดังกล่าวมาโดยวิธีใด คือถ้าได้รับหมายโดยตรงถึงตัวลูกหนี้เองหรือจะเป็นบุคคลในบ้านได้รับไว้ก็ต้องยื่นคำให้การภายใน 15 วัน นับแต่วันรับหมาย หรือกรณีได้รับหมายโดยวิธีปิดหมายคือ มีการปิดหมายไว้ที่ประตูบ้านในกรณีที่ไม่มีผู้รับหมาย เช่นนี้ ต้องยื่นคำให้การภายใน 30 วัน นับแต่วันปิดหมาย มิฉะนั้นจะถือว่าทางลูกหนี้ขาดนัดยื่นคำให้การ มีผลเท่ากับไม่ต่อสู้คดี ซึ่งในทางแพ่ง การไม่ต่อสู้แก้คดีจะถือว่ายอมรับตามที่โจทก์ฟ้องมา ทำให้ศาลต้องพิจารณาหลักฐานจากโจทก์ฝ่ายเดียว ซึ่งก็มีแนวโน้มไปทางให้โจทก์ชนะคดี
    ดังนั้น ลูกหนี้ควรจะทำคำให้การยื่นให้พ้นกำหนดเพื่อแก้คดีไปก่อน หากไม่รู้ขั้นตอน ควรปรึกษากับ
    ทนายความ ซึ่งทางทนายความอาจจะทำการต่อสู้คดีได้รอบคอบกว่า เช่นเรื่องของยอดหนี้ ดอกเบี้ย อายุความ หลังจากนั้นก็ควรไปศาลตามกำหนดนัด ซึ่งหากลูกหนี้มีทนายความที่ได้รับมอบหมายอยู่แล้ว ก็อาจจะไม่ต้องไปศาลเอง ซึ่งจะทำให้มีช่องทางเจรจากันได้อีกในชั้นศาล แม้จะมีข้อจำกัดและเงื่อนไขมากกว่าการเจรจาก่อนฟ้อง ก็จำเป็นต้องทำ ซึ่งศาลก็เป็นที่ให้ความยุติธรรมแก่ประชาชน ปัจจุบันนี้ศาลได้มีนโยบายให้มีการเจรจาไกล่เกลี่ยกัน ก่อนถึงกระบวนการพิจารณาจริง ๆ เพื่อให้คู่กรณีได้มีโอกาสเสนอทางเลือกของตนให้อีกฝ่ายได้พิจารณา ก็ยิ่งเป็นผลดีกับลูกหนี้ได้เช่นกัน เพราะในชั้นนี้จะมีเจ้าหน้าที่ไกล่เกลี่ยที่ทางศาลจัดมาให้ ช่วยเจรจากับทางฝ่ายเจ้าหนี้อีกฝ่ายหนึ่ง ทำให้ลูกหนี้มีโอกาสบอกถึงข้อจำกัด ความเดือดร้อนของตน เป็นข้อเสนอให้เจ้าหนี้ได้พิจารณาต่อไป หากไม่อาจหาข้อตกลงร่วมกันได้ ก็จะเป็นขั้นตอนการพิจารณาของศาลต่อไป

     

    เมื่อศาลพิจารณาคดี

    ในชั้นนี้ เมื่อศาลได้มีการสืบพยานจนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะมีคำพิพากษา หากศาลตัดสินให้โจทก์
    เป็นฝ่ายชนะคดีและไม่มีการอุทธรณ์ฎีกา ทางผู้ชนะคดีก็จะมีการดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษา โดยต้องเป็นการดำเนินการผ่านทางเจ้าหน้าที่กรมบังคับคดี ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ดำเนินการภายใต้กรอบอำนาจที่กฎหมายกำหนดไว้

     

    วิธีการบังคับคดี

    วิธีการบังคับคดี คือ การยึดทรัพย์สิน, อายัดสิทธิเรียกร้องต่าง ๆ ของลูกนี้ (หนี้ที่ลูกหนี้มีสิทธิเรียก
    ร้องเอากับบุคคลอื่น) เพื่อมาชำระหนี้ให้แก่เจ้าหน้าที่ตามคำพิพากษา ซึ่งการยึดทรัพย์ทำได้โดยเจ้าหน้าที่ตีตรา ทำบัญชีทรัพย์ จากนั้นนับทรัพย์นั้นออกขายทอดตลาด กรณีลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินใด ๆ ให้ยึด เจ้าหนี้ก็ทำอะไรไม่ได้ ต้องรอให้ทางลูกหนี้มีทรัพย์สินก่อน ฉะนั้นการถูกยึดทรัพย์จึงไม่ใช่เรื่องน่ากลัวอย่างที่คิด (เจ้าหนี้อาจมีช่องทางไปฟ้องเป็นคดีล้มละลายได้ แต่อาจไม่คุ้มค่า)

     

    แม้จะมีคำพิพากษาให้เจ้าหนี้ชนะคดีแล้ว แต่การเจรจาประนีประนอมก็ยังทำได้อยู่ เพราะการบังคับ
    คดีเป็นสิทธิของเจ้าหนี้(ซึ่งเจ้าหนี้มักจะเอามาใช้เป็นวิธีการท้ายสุด เพื่อให้ได้รับชำระหนี้ เพราะเป็นวิธีการที่ยุ่งยากและอาจขายทอดตลาดไม่ได้ราคา) ดังนั้นจึงควรขอเจรจาผ่อนผัน ยื่นข้อเสนอความเป็นไปได้กับทางเจ้าหนี้ เพราะเจ้าหนี้มีเวลาบังคับคดีตามกฎหมายถึง 10 ปี นับแต่มีการออกคำบังคับและมีผล หากข้อเสนอเป็นที่พอใจของเจ้าหนี้ เจ้าหนี้ย่อมจะรับไว้ เพราะการสืบหาทรัพย์เพื่อยึดทรัพย์ บังคับคดีย่อมทำได้ยากที่จะหามาพอชำระหนี้

     

    แต่หากขั้นตอนมาถึงการยึดทรัพย์ขายทอดตลาดแล้ว กฎหมายก็ยังให้ลูกหนี้มีสิทธิรักษาผล
    ประโยชน์ของตนไว้ได้ เช่น การคัดค้านการขายทอดตลาด ถ้าเห็นว่าได้ราคาที่ต่ำเกินไปหรือเข้าสู้ราคาหรือให้ญาติของลูกหนี้เข้าสู้ราคา เพื่อไม่ให้สูญเสียทรัพย์สินในราคาที่ถูกเกินไป หรือคัดค้านเจ้าพนักงานที่คิดฉ้อฉลในการขายทอดตลาดนั้นได้

     

     

     

     

     

    เรียบเรียงโดย ทนายความอิศรา เพ็ชร์สวัสดิ์


     

    BACK

     

     


     


     

    มีเรื่องด่วนหลังเวลาทำการของ
    สำนักงาน (08.30-17.30 น.)
    กรุณาติดต่อโดยตรงที่คุณชมทรรศน์
    โทร.086-5589695

     


     

     

     
                 
       
    Copyright 2009 © สำนักกฎหมายชมทรรศน์ สมบุตร
    ที่อยู่ 919/541 อาคารจิวเวลรี่ เทรด เซ็นเตอร์ ชั้น 49 ถนนสีลม  แขวงสีลม เขตบางรัก กทม. 10500
    โทร. 02-116-1310 / 02-161-0155 / 086-558-9695  Fax. 0-2236-5721
    E-mail:toebkk@hotmail.com



    ทนายความชมทรรศน์ สมบุตร ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีแพ่ง คดีอาญา ทนายที่ปรึกษาประจำ ที่ปรึกษากฎหมาย ทนายความ ทนายฟรี เครื่องหมายการค้า ทนายความฟรี จดทะเบียนพาณิชย์ คดีแพ่ง ทนาย จดทะเบียนการค้า ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร ขอคืนภาษี โดนเรียกภาษีย้อนหลัง ขอภาษีคืน ขอลดค่าปรับภาษี อุทธรณ์ภาษี ปรึกษาปัญหาภาษีอากร จดทะเบียนอาหารและยา (อย.) รับขอ อย. อาหาร รับขอ อย. เครื่องสำอาง ที่ปรึกษากฎหมายอาหารและยา จดทะเบียนบริษัท จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน แก้ไข เปลี่ยนแปลง ย้ายที่อยู่บริษัท เพิ่มทุน ลดทุน กฎหมายที่ดิน เวนคืน จัดการมรดก ขับไล่ เร่งรัดหนี้สิน ทวงหนี้ สืบทรัพย์ บังคับคดี ร่างสัญญา รับร่างพินัยกรรมและจัดการเก็บรักษาพินัยกรรม ขออนุญาตโฆษณาอาหาร เครื่องสำอาง กฎหมายเครื่องมือแพทย์ รับขอ อย. วัตถุอันตราย ฉลากสินค้า สำนักทนายความ สำนักงานกฎหมาย สำนักงานทนายความ ขออนุญาตจับรางวัล ขออนุญาตจับรางวัลชิงโชค จับรางวัลเสี่ยงโชค ขออนุญาตจับรางวัลเสี่ยงโชค ขออนุญาตจัดให้มีการแถมพกหรือรางวัลเสี่ยงโชค ขอใบอนุญาตจัดรางวัลเสี่ยงโชค เครื่องหมายบริการ จดทะเบียนร้านค้าเพื่อเปิดร้านอินเตอร์เน็ต ขึ้นทะเบียนอาหารเสริม ขึ้นทะเบียนยาแผนปัจจุบัน ขึ้นทะเบียนยาแผนโบราณ นำเข้าเครื่องมือแพทย์ รับจด อย.